Permanent Link
https://ssk.cascap.in.th/site/index?id=1CASCAP
Cholangiocarcinoma Screening and Care Program
โรคมะเร็งท่อน้ำดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความชุกสูงมากที่สุดในประเทศ และมีแนวโน้มสูงขึ้น กว่าครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยในระยะสุดท้าย ยังผลให้มีอัตรารอดชีพต่ำมาก โครงการแก้ไขปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงได้รับการพัฒนาขึ้น ด้วยการสนับสนุนให้เป็นหนึ่งโครงการเนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี มหาวิทยาลัยขอนแก่น และดำเนินการภายใต้กรอบข้อตกลงความร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข เพื่อค้นหาผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีระยะเริ่มต้นและให้การรักษาที่มีประสิทธิภาพ ทำงานร่วมกันในรูปเครือข่าย และบูรณการกับภารกิจของกระทรวงสาธารณสุขอย่างแนบแน่น โดยดำเนินควบคู่ไปกับการพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เพื่อสานต่องานอย่างยั่งยืนสืบไป
ในการนี้ ศูนย์จัดการข้อมูลและวิเคราะห์ทางสถิติ (DAMASAC) ภายใต้การกำกับของคณะสาธารณสุขศาสตร์ ได้พัฒนาระบบสารสนเทศทางสุขภาพ เรียกว่า CASCAP Tools (CASCAP: Cholangiocarcinoma and care program) โดยมุ่งให้ได้ทั้งข้อมูลที่จำเป็นต่อการวิเคราะห์สร้างองค์ความรู้ตามวัตถุประสงค์ข้างต้น และได้ระบบที่สามารถเชื่อมโยงกับการทำงานตามปกติของบุคลากรกระทรวงสาธารณสุข ง่าย และเกิดประโยชน์ทั้งด้านการวิจัย และการดำเนินงานประจำ รวมทั้งการจัดการดูแลรักษาผู้ป่วย เพื่อให้เกิดความยั่งยืน บังเกิดประสิทธิผลในการแก้ไขปัญหามะเร็งท่อน้ำดีในคนอีสานต่อไปในระยะยาว มอบเป็นนวัตกรรมสำหรับชาวอีสาน
Permanent Link
https://ssk.cascap.in.th/site/index?id=2ปัญหาโรคมะเร็งท่อน้ำดีเป็นปัญหาสาธารณสุขที่มีความสำคัญ ทางมหาวิทยาลัยขอนแก่นในฐานะเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการวิจัยที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ตระหนักถึงปัญหานี้ และในวาระที่มหาวิทยาลัยครบรอบ 50 ปี ด้วยปณิธานแห่งการอุทิศเพื่อสังคมจึงได้จัดทำโครงการแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (Cholangiocarcinoma Screening and Care Program: CASCAP) เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การคัดกรองโรค การวินิจฉัยและการดูแลรักษา การวิจัยพัฒนาคุณภาพในการให้การดูแลรักษา และการติดตามประเมินผลในการดูแลรักษาเพื่อลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งท่อน้ำดี ลดการสูญเสียทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม รวมถึงการผลักดันประเด็นมะเร็งท่อน้ำดีให้เป็นนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพของคนทั้งประเทศ
รศ.นพ.ณรงค์ ขันตีแก้ว หัวหน้าโครงการ CASCAP ได้ให้ข้อมูลว่าโรคมะเร็งท่อน้ำดีในประเทศไทยอุบัติขึ้นมานานแล้วร่วม 100 ปี และเป็นที่ทราบกันดีว่ามีสาเหตุเกิดจากการรับประทานปลาน้ำจืดมีเกล็ดแบบสุก ๆ ดิบ ๆ ที่อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ปลาน้ำจืดเหล่านี้มีตัวอ่อนระยะติดต่อของพยาธิใบไม้ตับอาศัยอยู่ ตัวอ่อนของพยาธิใบไม้ตับนี้จะชอนไชและเจริญเติบโตในท่อน้ำดี มีชีวิตอยู่ได้นานถึง 20 ปี ทำให้ท่อน้ำดีเกิดการอักเสบเรื้อรังและกลายเป็นมะเร็งท่อน้ำดีในที่สุด ในปัจจุบันพบมีประชาชนที่ตกอยู่ในกลุ่มเสี่ยงของโรคมะเร็งท่อน้ำดีอยู่ราว ๆ 6 ล้านคน และมีผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีอยู่ราว ๆ 14,000 คนต่อปี และส่วนใหญ่มีฐานะยากจน ด้อยโอกาสในการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่มีความพร้อมในการรักษาโรคมะเร็งท่อน้ำดี แม้หน่วยงานสาธารณสุขหลายองค์กรตระหนักถึงปัญหานี้ แต่ความไร้เอกภาพและความต่อเนื่องทำให้การแก้ปัญหาที่ดำเนินมานับทศวรรษไม่ได้ช่วยคลายปัญหาลง เป็นเหตุให้โรคมะเร็งท่อน้ำดีเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ
จากสถานการณ์ต่างๆข้างต้น โครงการแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นโครงการนำร่องที่จะวางแนวทางในการเฝ้าระวัง ตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยง ตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งท่อน้ำดีร่วมกันอย่างเป็นระบบ เพื่อที่จะทำให้การรักษามีประสิทธิภาพโดยหวังผลให้หายขาด (curative treatment) หรือได้รับการรักษาแบบประคับประคอง (palliative treatment) เพื่อให้คนไข้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมถึงนำไปสู่การทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางนโยบายระดับชาติด้านสาธารณสุขของโรคมะเร็งท่อน้ำดีในอนาคต
มีกิจกรรมหลายรูปแบบ เช่น การผลักดันให้เกิดการประกาศยุทธศาสตร์ “กำจัดพยาธิใบไม้ตับ ลดมะเร็งท่อน้ำดี วาระคนอีสาน” ได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงทางวิชาการร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขและมูลนิธิมะเร็งท่อน้ำดีในการร่วมมือกันทำโครงการแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การผลักดันให้ปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีเข้าสู่สมัชชาสุขภาพแห่งชาติเพื่อให้ภาคประชาชนได้ตระหนักว่าปัญหานี้เป็นปัญหาของตนเองและเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการรักษาดูแลผู้ป่วยกับโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทุกระดับโดยมีโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นโรงพยาบาลแม่ข่าย ร่วมมือการรักษาดูแลตั้งแต่ระดับปฐมภูมิถึงตติยภูมิในประชากรกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยกับโรงพยาบาลระดับโรงพยาบาลศูนย์ และโรงพยาบาลทั่วไป
การดำเนินงานในส่วนนี้ทางโครงการได้ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการเพื่อดำเนินโครงการพัฒนาและบำรุงรักษาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ CASCAP และดำเนินการจัดการข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และจัดทำรายงานทั้งเพื่อการพัฒนางานและเพื่อการวิจัยกับศูนย์บริหารจัดการข้อมูลและวิเคราะห์ทางสถิติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (Data Management and Statistical Analysis Center: DAMASAC) ซึ่งขณะนี้ได้พัฒนาโปรแกรมที่มีชื่อว่า CASCAP Tools นอกจากนี้ทางโครงการยังจัดให้มีการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการสําหรับแพทย์เพื่อวิเคราะห์และเขียนบทความวิจัย โดยในครั้งแรกได้จัดให้กับบุคลากรจากภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมีแผนที่จะจัดการอบรมดังกล่าวให้กับบุคคลากรที่เกี่ยวข้องในทุกระดับเพื่อที่จะกระตุ้นให้เกิดการทำงานที่มีคุณภาพและการตีพิมพ์ผลงานวิจัย
ตามวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อวางแนวทางในการเฝ้าระวัง ตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยง ตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งท่อน้ำดีร่วมกันอย่างเป็นระบบ ผ่านกิจกรรม “วาระอีสานต้านภัยมะเร็งท่อน้ำดีกับมูลนิธิมะเร็งท่อน้ำดีสัญจร” โครงการได้ร่วมกับมูลนิธิมะเร็งท่อน้ำดีจัดจัดกิจกรรมนี้ไปแล้ว 26 ครั้ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็งท่อน้ำดี สอดแทรกการให้ความรู้ รวมถึงกระตุ้นการตระหนักรู้เพื่อป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับมะเร็งท่อน้ำดีอย่างถูกต้องแก่ประชาชนทั่วไป นอกจากนี้ยังได้มีกิจกรรมการระดมทุนเพื่อใช้ในกิจกรรมการกุศลของมูลนิธิมะเร็งท่อน้ำดีอีกด้วย ผลจากการทำงานของโครงการและหน่วยงานเครือข่ายทำให้ขณะนี้ (มิถุนายน 2558) มีประชากรกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการขึ้นทะเบียนในระบบ แล้วกว่า 90,000 ราย และได้รับการตรวจอัลตร้าซาวด์แล้วประมาณ 60,000 ราย โดยพบว่ามีผู้ที่สงสัยว่าจะเป็นมะเร็งท่อน้ำดีมากกว่า 700 ราย ซึ่งได้รับการส่งตัวเพื่อตรวจยืนยันและรับการรักษาต่อไป โครงการจะจัดให้มีกิจกรรมลักษณะนี้ให้ครอบคลุมทุกจังหวัดในภาคอีสานเพื่อเป็นการกระตุ้นให้โรงพยาบาลในเครือข่ายโดยเฉพาะโรงพยาบาลชุมชนให้ดำเนินการตรวจอัลตร้าซาวด์เพื่อคัดกรองและเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน นอกจากนี้ทางโครงการทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อทำโครงการ วิจัยพัฒนาศักยภาพการตรวจคัดกรอง ตรวจวินิจฉัย และการวิจัยทางรังสีวิทยาในผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อสร้างทีมรังสีวิทยาเพื่อพัฒนาศักยภาพการตรวจคัดกรอง ตรวจวินิจฉัย และการวิจัยทางรังสีวิทยาให้กับผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และสร้างทีมแพทย์ทั่วไปและบุคลากรให้มีศักยภาพในการตรวจคัดกรองทางรังสีวิทยาเพื่อค้นหาผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีในระยะเริ่มต้น รวมถึงการพัฒนาโปรแกรมการให้คำปรึกษาการตรวจอัลตร้าซาวด์โดยผ่านระบบอินเตอร์เน็ตในโรงพยาบาลศรีนครินทร์และเครือข่าย Teleradiology system
ทางโครงการได้ดำเนินการฝึกอบรมศัลยแพทย์ สาขาต่อยอดศัลยศาสตร์ตับ ทางเดินน้ำดีและตับอ่อน หลักสูตร 1 ปี และได้ดำเนินการอบรมรังสีแพทย์และแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนเพื่อให้สามารถใช้อัลตร้าซาวด์เพื่อการเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงได้ นอกจากนี้ทางโครงการยังได้ดำเนินการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและสาธารณสุขอำเภอให้มีความรู้และมีทักษะในการค้นหากลุ่มเสี่ยงและส่งต่อเพื่อการเฝ้าระวังด้วยอัลตร้าซาวด์ได้ มีการฝึกอบรมพยาบาลห้องผ่าตัด หอผู้ป่วยวิกฤติ และหอผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีให้มีความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วยอย่างมีมาตรฐาน ฝึกอบรมศัลยแพทย์และรังสีแพทย์ให้มีความรู้และทักษะในการใส่ท่อระบายน้ำดีผ่านตับในผู้ป่วยท่อน้ำดีอุดตันจากมะเร็งท่อน้ำดีขั้วตับได้ และฝึกอบรมเพิ่มเติมให้ศัลยแพทย์และอายุรแพทย์ระบบทางเดินอาหารให้มีความรู้และความชำนาญในการใส่ท่อระบายน้ำดีผ่านกล้องอีกด้วย มีการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการทางการวิเคราะห์ข้อมูลและจัดเตรียมนิพนธ์ต้นฉบับแก่กลุ่มแพทย์ประจำบ้านและศัลยแพทย์ 1 ครั้ง ทั้งนี้เพื่อเป็นการนำงานประจำไปสู่การพัฒนาเป็นงานวิจัย (Routine to Research; R2R) นับเป็นการพัฒนาศักยภาพของบุคคลากรที่เป็นรูปธรรม
ปีนี้ทางโครงการได้ดำเนินการขยายเครือข่ายทั้งกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มป่วยในเครือข่ายกลุ่มเสี่ยง ทางโครงการมีแผนการดำเนินงานขยายเครือข่ายให้ครบทั้ง 20 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนเครือข่ายการรักษาซึ่งเป็นโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลมะเร็ง ทางโครงการวางเป้าหมายเพิ่มจำนวนโรงพยาบาลให้ได้ 10 โรงพยาบาล เพื่อให้โอกาสประชาชนกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มป่วยได้เข้าถึงบริการให้ได้มากที่สุด ในขณะเดียวกันทางโครงการได้จัดให้มีการพัฒนาศักยภาพบุคลากรเพื่อเพิ่มจำนวนผู้ให้บริการเช่น แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ส่วนการเพิ่มคุณภาพการรักษาพยาบาล โครงการได้ทำงานผ่านเครือข่าย และศูนย์ที่เพิ่งจัดตั้งในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ชื่อ “ศูนย์ความเป็นเลิศมะเร็งท่อน้ำดี” ประกอบไปด้วยหอผู้ป่วยเฉพาะ ที่ดูแลเฉพาะมะเร็งท่อน้ำดีขนาด 19 เตียง 1 หอผู้ป่วย มีเตียง ICU เพื่อผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดี 2 เตียง และห้องผ่าตัดเฉพาะ 1 ห้อง ผ่าตัดผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีทุกวัน 5 วันต่อสัปดาห์ ศูนย์ความเป็นเลิศมะเร็งท่อน้ำดีนี้เป็นศูนย์แรกและศูนย์เดียวในโลก ที่มีองค์ประกอบเพื่อการดูแลผู้ป่วยเฉพาะโรค และมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญชัดเจน คือเป็นศูนย์ฝึกอบรมเฉพาะการรักษาผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีเท่านั้น ต่อจากนี้ไปประชาชนจะได้รับการดูแลที่ดียิ่งขึ้น สำหรับการพัฒนางานด้านวิชาการ ในปีนี้ทางโครงการมีแผนจัดการจัดประชุมประจำปีของโครงการ CASCAP เพื่อเป็นเวทีในการนำเสนอผลการปฏิบัติงานของเครือข่ายทั้งหมดในรอบปีที่ผ่านมาด้วย
ผู้สนใจสามารถติดตามความคืบหน้า กิจกรรม และข่าวสารต่างๆของโครงการได้ที่ เว็บไซต์ www.cascap.in.th
Permanent Link
https://ssk.cascap.in.th/site/index?id=3
โครงการแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือCASCAP Cholangiocarcinoma Screening and Care Program โรคมะเร็งท่อน้ำดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความชุกสูงมากที่สุดในประเทศ และมีแนวโน้มสูงขึ้น กว่าครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยในระยะสุดท้าย ยังผลให้มีอัตรารอดชีพต่ำมาก โครงการแก้ไขปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงได้รับการพัฒนาขึ้น ด้วยการสนับสนุนให้เป็นหนึ่งโครงการเนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี มหาวิทยาลัยขอนแก่น และดำเนินการภายใต้กรอบข้อตกลงความร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข เพื่อค้นหาผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีระยะเริ่มต้นและให้การรักษาที่มีประสิทธิภาพ ทำงานร่วมกันในรูปเครือข่าย และบูรณการกับภารกิจของกระทรวงสาธารณสุขอย่างแนบแน่น โดยดำเนินควบคู่ไปกับการพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เพื่อสานต่องานอย่างยั่งยืนสืบไป ในการนี้ ศูนย์จัดการข้อมูลและวิเคราะห์ทางสถิติ (DAMASAC) ภายใต้การกำกับของคณะสาธารณสุขศาสตร์ ได้พัฒนาระบบสารสนเทศทางสุขภาพ เรียกว่า CASCAP Tools (CASCAP: Cholangiocarcinoma and care program) โดยมุ่งให้ได้ทั้งข้อมูลที่จำเป็นต่อการวิเคราะห์สร้างองค์ความรู้ตามวัตถุประสงค์ข้างต้น และได้ระบบที่สามารถเชื่อมโยงกับการทำงานตามปกติของบุคลากรกระทรวงสาธารณสุข ง่าย และเกิดประโยชน์ทั้งด้านการวิจัย และการดำเนินงานประจำ รวมทั้งการจัดการดูแลรักษาผู้ป่วย เพื่อให้เกิดความยั่งยืน บังเกิดประสิทธิผลในการแก้ไขปัญหามะเร็งท่อน้ำดีในคนอีสานต่อไปในระยะยาว มอบเป็นนวัตกรรมสำหรับชาวอีสาน คณะกรรมการ และผู้บริหารโครงการ ทีมงาน CASCAP ทีมงาน DAMASAC รูปแบบการออกตรวจคัดกรองสัญจร การดำเนินการโครงการ CONTACTCASCAP Tools ได้รับการสนับสนุนให้พัฒนาโปรแกรม ในรูปแบบที่เป็นการทำงาน แบบ Online และ Offline โดยภายในปี 2557 นี้ระบบจะให้บริการในส่วนระบบ Online โดยใช้ผ่าน URL: www.cascap.in.th ทีมพัฒนา DAMASAC: ศูนย์จัดการข้อมูลและวิเคราะห์ทางสถิติ คณะสาธารณสุข มหาวิทยาลัยขอนแก่น E-MAIL: cascapkku@gmail.com TEL: (mobile) (+66)95-658-5669 ติดต่อ คุณชัยวัฒน์ ทะวะรุ่งเรือง (ผู้ประสานงานด้านข้อมูล) |
Permanent Link
https://ssk.cascap.in.th/site/index?id=5“มะเร็ง” โรคที่สามารถสร้างความตระหนกให้กับคนทั่วไปด้วยความเข้าใจว่า มะเร็งเป็นโรคที่รักษาไม่หาย เป็นแล้วตายอย่างเดียว ซึ่งไม่ว่าจะเกิดกับอวัยวะส่วนไหนของร่างกาย ผลสุดท้ายมักลงเอยด้วยความตายที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ในปี พ.ศ. 2555 องค์การอนามัยโลกพบว่ามีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งทั่วโลกราว 8.2 ล้านคน (3 อันดับแรก คือ มะเร็งปอด มะเร็งตับ (รวมถึงมะเร็งท่อน้ำดี) และมะเร็งกระเพาะอาหาร) ซึ่งสูงจากในปี พ.ศ. 2551 ที่เสียชีวิตจำนวน 7.6 ล้านคน ทำให้โรคมะเร็ง เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของผู้คนทั่วโลก มีแนวโน้มว่าจำนวนจะเพิ่มขึ้นสูงในทุกๆ ปี และไม่มีวี่แววว่าจะลดลงในอนาคตอันใกล้
ในประเทศไทย โรคมะเร็งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับ 1 รองลงมาคือ อุบัติเหตุ และโรคหัวใจ กระทรวงสาธารณะสุขรายงานว่า ในแต่ละปี คนไทยเสียชีวิตจากโรคมะเร็งประมาณ 60,000 ราย หรือเฉลี่ยชั่วโมงละเกือบ 7 ราย โดยเสียชีวิตจาก มะเร็งท่อน้ำดีและตับ สูงเป็นอันดับที่ 1 เฉลี่ยปีละ 14,000 ราย คิดเป็น ประมาณ 38 รายในแต่ละวัน
จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขในปี พ.ศ. 2555 พบผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งท่อน้ำดีและตับสูงถึงประมาณ 14,000 ราย ซึ่งสูงกว่าข้อมูลเมื่อ 10 ปีที่แล้วที่อยู่ที่ประมาณ 11,000 ราย โดยพบสัดส่วนในเพศชายมากกว่าเพศหญิงถึง 2.5 เท่า
อ้างอิงและแปลงจาก Sripa B, Brindley PJ, Mulvenna J, et al. The tumorigenic liver fluke Opisthorchis viverrini–multiple pathways to cancer. Trends Parasitol 2012;28(10):395-407.
จากสถิติอุบัติการณ์การเป็นมะเร็งตับจากทั่วโลก พบมะเร็งเซลล์ตับ มีอุบัติการณ์สูงเป็นอันดับที่ 1 แต่ในประเทศไทย กลับพบว่ามะเร็งตับชนิดมะเร็งเซลล์ท่อน้ำดีนั้นสูงเป็นอันดับ 1 โดยเฉพาะที่พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ ซึ่งพบว่า อุบัติการณ์การเป็นโรคมะเร็งท่อน้ำดีในประเทศไทยนั้นสัมพันธ์กับการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ ชนิด Opisthorchis viverrini (Ov) ดังภาพด้านบน ซึ่งจากงานวิจัยพบว่า ประชากรที่อาศัยอยู่ใกล้บริเวณแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น แม่น้ำโขง มีโอกาสติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับได้มากกว่าประชากรที่อาศัยอยู่ไกลแหล่งน้ำ แต่โอกาสในการเป็นมะเร็งท่อน้ำดีนั้นยังขึ้นกับปัจจัยอื่นๆร่วมด้วย เช่น พฤติกรรมการรับประทานปลาน้ำจืดที่ติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับแบบดิบๆ ซึ่งพบมากในประชากรภาคอีสาน ที่เป็นเช่นนี้เป็นเพราะพฤติกรรมดังกล่าว จะทำให้เกิดการติดเชื้อของพยาธิใบไม้ตับในท่อน้ำดีและเกิดการอักเสบเรื้อรัง ส่งผลให้เกิดการก่อมะเร็งอย่างช้าๆใช้เวลาประมาณ 20-30 ปี โดยผู้ป่วยที่แสดงอาการเป็นมะเร็งส่วนใหญ่ มักเป็นระยะสุดท้ายซึ่งทำให้รักษาได้ไม่ทันท่วงที กว่าจะรู้ตัวก็สายไปเสียแล้ว
แม้ว่าอุบัติการณ์และอัตราการเสียชีวิตของโรคมะเร็งท่อน้ำดีนั้นจะสูงและมีแนวโน้มสูงขึ้นในแต่ละปี แต่ยังโชคดีที่มะเร็งชนิดนี้สามารถรักษาให้หายขาดได้ถ้าตรวจพบในระยะเริ่มต้น ด้วยเทคโนโลยีทันสมัยโดยใช้การตรวจอัลตร้าซาวน์ช่องท้องเพื่อคัดกรองผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีในระยะแรก ซึ่งทำให้สามารถวางแผนการรักษาได้ทันเวลา แต่วิธีการที่ดีที่สุด คือ การป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากโรคมะเร็งท่อน้ำดีด้วยการทำความเข้าใจถึงสาเหตุของโรคมะเร็งท่อน้ำดีอย่างถูกต้อง และลงมือปฏิบัติหลีกเลี่ยงพฤติกรรมการรับประทานปลาดิบอย่างจริงจัง
ดร.พรชีรา ชูสอน
นักวิจัยโครงการ CASCAP
appleccafoundation@gmail.com
Permanent Link
https://ssk.cascap.in.th/site/index?id=6แม้ “ตับ” จะเป็นอวัยวะที่หลายคนรู้จัก แต่หลายคนก็คงไม่ทราบว่าภายในเนื้อตับที่ประกอบด้วยเซลล์ตับจำนวนมากนั้นทำหน้าที่ต่างๆ มากมายเพื่อให้เรามีชีวิตอยู่อย่างปกติสุข และหนึ่งในหน้าที่หลักคือการผลิตน้ำดี น้ำดีที่หลั่งจะถูกลำเลียงผ่านท่อน้ำดีที่แทรกอยู่ภายในเนื้อตับทั้งฝั่งขวาและซ้าย จากนั้นจะรวมกันส่งต่อไปยัง ท่อน้ำดีใหญ่ในตับ แล้วออกนอกตับนำไปเก็บที่ถุงน้ำดี และส่งต่อไปยังลำไส้เล็ก เพื่อใช้ในกระบวนการย่อยไขมันต่อไป ดังนั้น “ท่อน้ำดี” จึงมีบทบาทสำคัญในการลำเลียงน้ำดีเพื่อนำไปย่อยไขมันต่อไปในระบบทางเดินอาหาร
“มะเร็งท่อน้ำดี (cholangiocarcinoma หรือ CCA)” คือ มะเร็งที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์เยื่อบุน้ำดีทั้งในและนอกตับ มะเร็งที่เกิดในท่อน้ำดีในเนื้อตับจะถูกเรียกเป็น “มะเร็งท่อน้ำดีในตับ” (intrahepatic CCA) ส่วนที่เกิดกับท่อน้ำดีนอกตับเรียก “มะเร็งท่อน้ำดีนอกตับ” (extrahepatic CCA) และมะเร็งที่เกิดกับตำแหน่งที่ท่อน้ำดีออกจากตับพอดีเรียกเพอริไฮลาร์ (perihilar CCA)
ข้อมูลของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พบสถิติการเสียชีวิตของมะเร็งท่อน้ำดีสูงสุดในปี 2548 หรือเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา โดยเสียชีวิตประมาณ 25,000 ราย คิดเป็นอัตราการเสียชีวิตวันละ 70 คน หรือเฉลี่ยชั่วโมงละ 3 ราย นายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์เปิดเผยว่า โรคมะเร็งใน ปี 2554 พบคนไทยเสียชีวิตจากโรคมะเร็งท่อน้ำดีและตับจำนวน 14,314 ราย ประมาณครึ่งหนึ่งเป็นคนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือประมาณ 7,539 ราย
รองลงมาคือภาคเหนือ จำนวน 2,638 ราย และจากสถิติโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปี 2556 พบผู้ป่วยมะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดีรายใหม่มากกว่า 1,765 ราย ซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆทุกปี โดยเป็นมะเร็งท่อน้ำดี 63% (1,108 ราย) มะเร็งตับ 18% (320 ราย) โดยประมาณร้อยละ 55 เกิดขึ้นกับประชากรวัยทำงานที่เป็นหัวหน้าครอบครัวอายุระหว่าง 40-60 ปี ซึ่งถือเป็นโรคที่รุนแรงและก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ สังคม คุณภาพชีวิตของคนในสังคมเป็นอย่างมาก
มะเร็งท่อน้ำดีของคนไทยโดยเฉพาะคนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้นเกิดจากอุปนิสัยที่ชอบรับประทานปลาน้ำจืดมีเกล็ดแบบสุกๆ ดิบๆ โดยการปรุงอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ เช่น ปลาร้าดิบ ก้อยปลา ส้มปลา ซึ่งมีระยะติดต่อของพยาธิใบไม้ตับ (Opisthorchis viverrini) ที่อาศัยอยู่ใต้เกล็ด พยาธิใบไม้ตับที่เข้าสู่ระบบทางเดินอาหารจะเข้าไปอาศัยอยู่ที่ท่อน้ำดี ทำให้เกิดการติดเชื้อของพยาธิใบไม้ตับในท่อน้ำดีและเกิดการอักเสบเรื้อรัง ทำให้เกิดการสร้างอนุมูลอิสระเป็นจำนวนมาก มีการซ่อมแซมส่วนที่บาดเจ็บของเซลล์เยื่อบุผิวท่อทางเดินน้ำดี ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการก่อมะเร็งอย่างช้าๆ โดยใช้เวลาประมาณ 20-30 ปี โดยผู้ป่วยที่แสดงอาการเป็นมะเร็งส่วนใหญ่ มักเป็นระยะสุดท้ายซึ่งทำให้รักษาได้ไม่ทันท่วงที โรคร้ายนี้จึงเป็นภัยเงียบของคนไทยที่อยู่คู่กันมาช้านาน
จากการประมาณการพบว่าคนอีสานกว่า 20 ล้านคน ติดเชื้อหรือเคยติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับกว่า 6 ล้านคน หรือนับเป็นหนึ่งในสามของประชากรในภูมิภาค การรักษาโรคพยาธิใบไม้ตับคือให้ยาถ่ายพยาธิชนิดพราซิควอนเทล (Praziquantel) ซึ่งหากประชากรมีความเข้าใจถึงการป้องกันโรค และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร จะช่วยให้อุบัติการณ์ของโรคมะเร็งท่อน้ำดีลดลงเป็นอย่างมากในอนาคต
กล่าวโดยสรุป โรคมะเร็งท่อน้ำดีนั้นเป็นมะเร็งของเซลล์เยื่อบุท่อน้ำดีที่มีตำแหน่งเกิดได้ทั้งภายในตับและภายนอกตับ ดังนั้นจึงมีคนจำนวนมากเข้าใจผิดว่า มะเร็งท่อน้ำดีนั้นคือมะเร็งตับ ทั้งนี้สาเหตุโรคมะเร็งทั้งสองชนิดนั้นต่างกัน กล่าวคือมะเร็งตับมีสาเหตุหลักมาจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ พิษสุราเรื้อรัง และสารพิษจากเชื้อราแอฟล่าท็อกซิน ส่วนมะเร็งท่อน้ำดีในภาคอีสานเกิดจากการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับอันเนื่องมาจากพฤติกรรมเสี่ยงจากการรับประทานปลาน้ำจืดดิบ ดังนั้นการทำความเข้าใจในเบื้องต้นถึงสาเหตุ และตำแหน่งของการเกิดโรคจึงมีความสำคัญ เพื่อนำไปสู่แนวทางการป้องกันและรักษาที่ยั่งยืนตลอดไป
http://www.vitamins-b17.com/โรคมะเร็งฆ่าชีวิตคนไทย...
http://pr.moph.go.th/iprg/include/admin_hotnew/sho...
Hospital-Based Tumor Registry, Srinagarind Hospital, Khon Kaen University, Statistical Report (2013). Cancer Unit, Faculty of Medicine Khon Kaen University
ดร.พรชีรา ชูสอน
นักวิจัยโครงการ CASCAP
appleccafoundation@gmail.com
Permanent Link
https://ssk.cascap.in.th/site/index?id=7วัฐจักรของพยาธิใบไม้ตับ ที่พบเห็นทั่วไปในพื้นที่ภาคอีสาน ส่งผลให้เกิดอุบัติการมะเร็งท่อน้ำดีของภาคอีสานสูงเป็นอันดับหนึ่งของ ประเทศไทย และสูงที่สุดในโลก
4 กลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ควรได้ร
ขอย้ำอีครั้ง โรคมะเร็งท่อน้ำดี เป็นโรคที่คร่าชีวิตคนไทยมา
พยาธิไม่ตายด้วยการบีบมะนาว